วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Computer




ข้อสอบ
ลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ หรือ กฎหมายคอมพิวเตอร์
*จำเป็น

ระบบปฏิบัติการ LINUX เป็นระบบแบบใด *

ก.ระบบผู้ใช้คนเดียว
ข.ระบบ WINDOWS ที่ MICROSOFT เขียนขึ้นมาแก้ไขข้อผิดพลาดของตน
ค.ระบบปฏิบัติการแบบหลายผู้ใช้ เข้าใช้เครื่องพร้อมกัน ผ่านระบบเครือข่าย
ง.ระบบปฏิบัติการสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ เช่น ร้านค้า ร้าน VDO เป็นต้น

พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีกี่มาตรา *

ก.40 มาตรา
ข.30 มาตรา
ค.20 มาตรา
ง.10 มาตรา

รุ่นของ ไมโครโปรเซสเซอร์(Microprocessor) รุ่นใดใหม่ที่สุด *

ก.8088
ข.Pentium
ค.80486
ง.SuperMario

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 คือใคร *

ก.รองนายกรัฐมนตรี
ข.รัฐมนตรี
ค.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ง.นายกรัฐมนตรี

คำสั่ง FORMAT เป็นคำสั่งภายนอกของ DOS มีหน้าที่ใด *

ก.จัดโครงสร้างของ DISK ใหม่
ข.ทำความสะอาด DISK DRIVE
ค.จัดรูปแบบของ CD-ROM ใหม่
ง.ลบแฟ้มบางแฟ้มที่ไม่ต้องการออกจาก DISK

ผู้ให้บริการ จะต้องปฎิบัติตามมาตรา 26 คือจะต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่ากี่วันเพื่อการตรวจสอบผู้ให้บริการ มิเช่นนั้นจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท *

ก.30 วัน
ข.120 วัน
ค.90 วัน
ง.60 วัน

ซอฟเเวร์มีกี่ประเภท *

ก.1
ข.2
ค.3
ง.4

DOS ย่อมาจากอะไร *

ก.Door Of System
ข.Disk of System
ค.Direct - Opening Systematic
ง.Disk Operating System

พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด

ก.18 มิถุนายน 2550
ข.19 มิถุนายน 2550
ค.16 มิถุนายน 2550
ง.17 มิถุนายน 2550

ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิเวอตร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข มีความผิดตามข้อใด *

ก.จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
ข.ปรับไม่เกิน 10,0000 บาท
ค.ปรับไม่เกิน 30,0000 บาท
ง.จำคุกไม่เกิน 6 เดือน

Health

โครงงานสุขศึกษา
เรื่อง  การทำน้ำยาซักผ้าจากมะกรูด

 
บทคัดย่อ


ที่มาและความสำคัญ
            เนื่องจากในหมู่บ้านของเรามีมะกรูดที่เน่าเสียมากเพราะต้นมะกรูดออกผลมากและจากการสังเกตการณ์ทำอาหารในครัวเรือน  ส่วนใหญ่จะใช้มะนาวในการทำอาหาร  เราจึงนำมะกรูดมาทำการทดลองเผื่อในอนาคตเราอาจมีน้ำยาซักผ้าวางขาบในท้องตลอดทั่วไป

วัตถุประสงค์
   1.เพื่อหาค่า PH ของน้ำยาซักผ้าจากน้ำมะกรูด
   2.เพื่อหาว่าน้ำยาซักผ้าจากมะกรูดมีความเป็นกรด หรือเบส
ประโยชน์ที่คาดว่าจะไดรับ
      1.เราสามารถรู้คุณสมบัติของมะกรูดว่ามีความสามารถขจัดสิ่งสกปรกในเนื้อผ้าเทียบเท่ากับผงซักผ้าในท้องตลาด
      2.ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ
      3.ตระหนักถึงคุณค่าของพืชผักสวนครัวว่าเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
ขอบเขตการศึกษา
       ณ บ้านเลขที่ 553 ม.12   ต.บุ่ง  อ.เมือง  จ.อำนาจเจริญ   37000
สมมุติฐาน
               การทำโครงงานเรื่อง การทำน้ำยาซักผ้าจากมะกรูด เพื่อทราบว่ามะกรูดมีค่าPHเท่าไรและความเป็นกรดเบสเท่าใด และสามารถนำมาทำน้ำยาซักผ้าได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าผงซักผ้าทั่วไป



เอกสารประกอบ
    
     เนื่องจากมะกรูดเป็นผักสวนครัวที่หาได้ง่าย และที่สำคัญเป็นผักที่เหลือใช้ในครัวเรือน  และมีประโยชน์หลายด้าน  เพราะมะกรูดมีความเปรี้ยวคนสมัยก่อนใช้มะกรูดมาถูมือที่ติดสารเคมีบางชนิด  เราจึงคิดที่จะนำมะกรูดมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เราจึงนำมะกรูดมาทำน้ำยาซักผ้า



 วิธีดำเนินการโครงงาน


อุปกรณ์และวัตถุดิบ
1.  N 70 (สารทำให้เกิดฟอง)                               1   ก.ก
2.  น้ำมะกรูดต้ม                                             3   ก.ก
3.  น้ำด่าง                                                      5   ก.ก
4.  เกลือ                                                       1   ก.ก
5.  น้ำสะอาด                                                   3  ก.ก
6.  ถังก้นเรียบ                                                  1  ก.ก
7.  ไม้พายุ                                                       1   ก.ก
8.  หัวเชื้อน้ำหอมแพนทีน                                    10   ก.ก

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
1.  เตรียมน้ำด่างโดยใช้ขี้เถ้า  2  ก.ก  ละลายน้ำ  5  ก.ก  คนให้เข้ากันทิ้งไว้  3-5  วัน
     จะได้น้ำด่างใสๆนำไปใช้ได้
2.  เตรียมน้ำเกลือ โดยนำเกลือ  1  ก.ก  ละลายน้ำสะอาด ก.ก. ก็จะได้น้ำเกลือ
3.  น้ำ  N 70 1 ก.ก เทใส่ถังกวนให้ N 70 เป็นครีมขาวโดยกวนไปทางเดียวกันเมื่อ
     เป็นครีมขาวอ่อนๆเทน้ำเกลือลงจำนวน  1  ก.ก  จนเป็นเนื้อเดียวกัน  และเทน้ำเกลือ         
     ส่วนที่เหลือจนเป็นเนื้อเดียวกัน
4.  เทน้ำด่าง  น้ำมะกรูด  ลงในถัง  N 70 ที่เตรียมไว้แล้วกวนต่อไปจนเป็นเนื้อเดียวกัน
5.  ใส่หัวเชื้อน้ำหอม ลงไปแล้วคนให้เข้ากัน
6.  ทิ้งไว้ให้ฟองยุบ  แล้วนำไปใช้ได้เลย



ขั้นตอนการทดลอง

นำถุงเท้าไปแช่โคลนให้มีความสกปรกเท่ากัน
กะละมังที่ ผงซักฟอกบรีส                      กะละมังที่ น้ำยาซักผ้า
เติมน้ำสะอาด  500  ML                            เติมน้ำสะอาด 500 ML     
ผงซักผ้า   30   ML               น้ำยาซักผ้า 30 ML
ถุงเท้ามีความสกปรกเท่ากัน                        ถุงเท้ามีความสกปรกเท่ากัน
           
สรุปผลการทดลอง
  
   จากการที่เราทำการทดลอง พบว่า น้ำยาซักผ้ามีความเป็นกรดอ่อนๆ  มีค่า PHประมาณ 8  แล้วทำการทดลองซักผ้า กับถุงเท้านักเรียน โดยถุงเท้านักเรียนซึ่งมีความสกปรกเท่าๆกัน เติมน้ำเท่ากัน และปริมาณน้ำยาเท่ากัน แล้วทำการขยี้ด้วยแรงที่เท่ากันเป็นเวลา นาที ผลออกมาถุงเท้าที่ซักด้วยน้ำยาซักผ้าจากมะกรูดมีความสะอาดกว่าผงซักฟอก แต่ผงซักฟอกทำให้ผ้ามีความนุ่มกว่าน้ำยาซักผ้าจากมะกรูดเล็กน้อย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าน้ำยาซักผ้าจากมะกรูดมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับผงซักฟอกทั่วไปในท้องตลาด




รูปภาพประกอบโครงงาน











โครงงานเรื่อง น้ำยาซักผ้าจากมะกรูด นี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นกรดของน้ำมะกรูด ที่สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกได้ดีพอๆ กับน้ำยาซักผ้าที่มีสารเคมีหรือไม่ ต้นทุนต่ำและไม่มีสารตกค้าง เพราะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ อย่างน้ำมะกรูด น้ำด่าง น้ำเกลือ และหัวเชื้อน้ำยา โดยมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า โดยนำหัวเชื้อลงไปกวนในถังโดยใช้ไม้กวนไปทางเดิม ห้ามกวนสวนทาง และใส่น้ำมะกรูด น้ำด่าง น้ำเกลือ ลงไปทีละนิดสลับกัน จนหมดกวนซักพักทิ้งไว้ และเมื่อนำไปล้างจานจะเกิดผลอย่างไร ผลปรากฏว่า เมื่อนำไปล้างจานจะสะอาดพอๆกับน้ำยาล้างจานที่มีสารเคมี มีต้นทุนที่ต่ำกว่า สามารถทำใช้เองได้ภายในบ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช่จ่ายภายในบ้านด้วยโดย

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Home

    ประวัติวันแม่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ





 ประวัติวันแม่

         
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป 

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความ สำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ 

          ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
 กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

         
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

          2. จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ  

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
 การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
          งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

          ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ

                                                           

                                                             วีดีโอกลุ่ม



วันสงกรานต์

     
         ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ
        สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี
       พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข 

        ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น "Water Festival" เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
        การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ


 
อ้างอิง   http://hilight.kapook.com/view/21047

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


แนะนำตัวเอง

ด.ญ.อริสา ขันธหัด ชั้นม.3/2 เลขที่ 48

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติวันแม่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ





 ประวัติวันแม่

         
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป 

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความ สำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ 

          ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
 กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

         
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

          2. จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ  

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
 การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
 
          งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

          ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ

มาร์ชโรงเรียนอำนาจเจริญ 3/2 ปี 54

วันสงกรานต์

       
         ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ
        สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี
       พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข 

        ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น "Water Festival" เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
        การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ


 
อ้างอิง   http://hilight.kapook.com/view/21047